กล่องข้อความ: 		7-50100-001-103  		  ชื่อพื้นเมือง	:  เต่ารั้ง เต่าร้าง  ชื่อวิทยาศาสตร์	:  Caryota mitis Lour.  ชื่อวงศ์	:  ARECACEAE  ชื่อสามัญ	:  Tufted Fishtail Palm  ประโยชน์	:  ดับพิษตับปอด แก้หัวใจพิการ แก้ม้ามพิการ แก้ช้ำใน  มีโทษ ดอกและขนทำให้คัน

บริเวณที่พบ : หอประชุมวัฒโนทัย
ลักษณะพิเศษของพืช : ไม้ประดับ,ผลมีพิษ
ลักษณะทั่วไป : ปาล์มแตกกอ ลำต้นขนาด 10-15 เซนติเมตร
ต้น : เป็นปาล์มที่มีหน่อและขึ้นเป็นกอ สูงประมาณ 6 - 12 เมตร
ใบ :  ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น  เรียงสลับ  ใบย่อยรูปสามเหลี่ยมหยักเว้า    กว้างประมาณ 13 เซนติเมตร   ยาว 20-30 เซนติเมตร
ปลายแหลมคล้ายหางปลา  โคนใบรูปลิ่ม   แผ่นใบสีเขียวเป็นมัน  กาบใบยาว 0.5-2 เมตร  โคนกาบใบมีขนสีน้ำตาลแดงปนเทาหรือสีดำ
ดอก : สีขาวอมเหลือง ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงระหว่างกาบใบหรือใต้โคนกาบใบ ดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้น ช่อดอกยาว 60-80 เซนติเมตร
ดอกบานเต็มที่กว้าง 2 เซนติเมตร แขนงช่อดอกจะมี ดอกออก 2 ข้าง รูป spike รวมเป็นกระจุก กระจุกๆละ 3 ดอก
ผล : มีลักษณะเป็นผลกลมเล็ก ๆ เรียงเป็นแถว ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อผลแก่จะมีสีม่วงดำ ผิวของผลมีขนละเอียดเล็ก ๆ ถ้าได้สัมผัสจะทำให้คันมาก
เช่นเดียวกับตำแยหรือหมามุ่ย
ประโยชน์ : 1) นิยมปลูกเป็นไม้ประดับสวนกลางแจ้ง แตกกอสวยงาม
                 2) รกที่ปกคลุมกาบใบและลำต้นมีเส้นใยทำเชือกและ เครื่องจักสาน
                 3.) ดอกเต่าร้างและลำต้นให้น้ำตาลเหมือนน้ำตาลมะพร้าว (jaggery sugar)

ลักษณะวิสัย

กลับหน้าหลัก
ลำต้น
ใบ
ก้านใบ

 

สรุปลักษณะและข้อมูลพรรณไม้
ชื่อพรรณไม้   เต่ารั้ง , เต่าร้าง     รหัสพรรณไม้   7-50100-001-103